วันที่ 19 กันยายน 2565
นายสมคิด จันทมฤก เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานอาสาพัฒนา (อสพ.) รุ่นที่ 74 โดยสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานอาสาพัฒนา (อสพ.) รุ่นที่ 74 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก อุดมการณ์การเป็นอาสาสมัคร และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานกับชุมชน เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว อาสาพัฒนาจะต้องลงไปทำงานในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนเป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 กลุ่มเป้าหมายการฝึกอบรมประกอบด้วยอาสาพัฒนา (อสพ.) รุ่นที่ 74 ที่สอบผ่านการคัดเลือก จำนวน 200 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 55 คน และหญิง จำนวน 145 คน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเป็นอาสาพัฒนา (อสพ.) มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 109 คน และเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเป็นอาสาพัฒนา (อสพ.) มาก่อน จำนวน 91 คน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนส่วนกลาง จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 210 คน โดยกำหนดดำเนินการ ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2565 โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นวิทยากรให้ความรู้ตลอดการฝึกอบรม โดยยึดหลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมการพัฒนาชุมชน และผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Cloud Meeting
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า เปิดการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานอาสาพัฒนา (อสพ.) รุ่นที่ 74 และบรรยายพิเศษ เรื่อง ทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มุ่งเน้นการทำงานครบทุกมิติ ในกระบวนการ “งาน งบ ระบบ คน” เพื่อมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง (ตำบลเข้มแข็ง) “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ มีเศรษฐกิจฐานราก และมีความสุขมวลรวม ผ่านโครงการต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชน ในด้านของการบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมและพัฒนา สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน มีการรักษาระดับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลหมู่บ้านใหม่ ขับเคลื่อนและต่อยอดพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ด้วยหลัก 5 P ยกระดับศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน และศูนย์สารภี เสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนธรรมาภิบาล และงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในด้านเศรษฐกิจฐานราก มีการกระตุ้นส่งเสริมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทั้งผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทย และช่องทางการตลาด ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเครือข่ายภาคี
โดยการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอาสาพัฒนา จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการทำงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ของเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับ การส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากให้มีความมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง งานนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้น อสพ. จึงต้องเป็นผู้มีอุดมการณ์และมีจิตอาสาไปปฏิบัติงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ และนับว่าจะเป็นหนึ่งในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ต่อไป
No comments:
Post a Comment