กรมการพัฒนาชุมชน จัดประกวดออกแบบตัดเย็บ“ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” 40 ชุดสุดท้าย ชิงรางวัลใหญ่ระดับประเทศ - Go Ahead News

Go Ahead News

ก้าวไปข้างหน้ากับเรา

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, October 1, 2023

กรมการพัฒนาชุมชน จัดประกวดออกแบบตัดเย็บ“ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” 40 ชุดสุดท้าย ชิงรางวัลใหญ่ระดับประเทศ

 




วันนี้ (วันที่ 30 กันยายน 2566) เวลา 17.00 น. ณ เวทีกลางงาน OTOP Midyear 2023 อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 




นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานการแสดงแบบ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามโครงการสร้างการรับรู้การส่งเสริมการออกแบบตัดเย็บผ้าไทย ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” โดยมีนางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวรายงาน ฯ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินการประกวดออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” และที่ปรึกษา โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ดีไซน์เนอร์ชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วย ดร.ศรินดา จามรมาน นายธนันท์รัฐ ธนเสฏการย์ นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE  นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.กรกลด คำสุข ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายชูชีพ พงษ์ไชย นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด รองประธานแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการจังหวัด และผู้เข้าประกวดการออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ร่วมกิจกรรมฯ 



นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการผ้าไทยที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมให้พวกเราคนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทยที่หลากหลายในรูปแบบที่มีความทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส ซึ่งการที่จะสวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาสได้นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาลวดลายให้หลากหลาย และออกแบบตัดเย็บที่น่าสนใจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ด้านผ้าไทยมาถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และช่างทอผ้า เพื่อให้มีทักษะความรู้ นำไปสร้างอาชีพที่มั่นคง สามารถเพิ่มพูนรายได้ นอกจากนี้ พระองค์ทรงสอนให้พวกเราทุกคนมีความรับผิดชอบต่อโลกใบเดียวของเรา ทรงให้ความสำคัญกับการใช้สีธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชและต้นไม้ให้สีธรรมชาติ การใช้วัสดุจากท้องถิ่น การใช้เส้นไหมเส้นฝ้ายที่มาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือการปลูกฝ้าย เพราะวงจรชีวิตของผ้าไทยมาจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าว กลายเกิดเป็น Sustainable Fashion หรือ "แฟชั่นแห่งความยั่งยืน" โดยนำสิ่งรอบตัวจากธรรมชาติมาผสมผสาน รวมถึงทรงส่งเสริมเรื่องการตลาดในการเพิ่มเรื่องเล่า Story Telling การพัฒนารูปแบบ Packaging และจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการสวมใส่ผ้าไทยเป็นวิถีชีวิตในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่เด็ก เยาวชน คนรุ่นต่อไป เพื่อให้ภูมิปัญญาเหล่านี้ อยู่คู่กับสังคมไทยไปชั่วกาลนาน และเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการสร้างการรับรู้การส่งเสริมการออกแบบตัดเย็บผ้าไทย ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในวันนี้ จะทำให้มีการตื่นตัวในการพัฒนาเทคนิคการออกแบบตัดเย็บของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ตลอดจนผู้ที่สนใจการออกแบบตัดเย็บทุกคน ในการผลิตชิ้นงานชุดผ้าไทยที่ร่วมสมัย เกิดการรังสรรค์การออกแบบตัดเย็บผืนผ้าไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับแฟชั่นสมัยนิยมตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 








ขอขอบคุณท่านผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและการออกแบบตัดเย็บ ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดการออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ระดับประเทศ ในวันนี้ และขอเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าประกวดทั้ง 40 ราย ที่สามารถผ่านการประกวดซึ่งมีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก และหวังว่าการเข้าร่วมโครงการฯ นี้จะทำให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเป็นนักออกแบบตัดเย็บหรือดีไซเนอร์ที่ดี มีผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป นางจิณณารัชช์ กล่าวทิ้งท้ายฯ

         

นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัยและทุกโอกาส นำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับช่างทอผ้า และครอบครัวอย่างยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่สามารถเป็นโมเดลของความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 3 โมเดล ได้แก่ “ดอนกอยโมเดล” “นาหว้าโมเดล” และ “บาติกโมเดล” โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการขยายผลการขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ด้วยการจัดทำโครงการส่งเสริมการออกแบบตัดเย็บผ้าไทย ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการออกแบบตัดเย็บชุดผ้าไทย และเพิ่มช่องทางด้านการตลาดแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ศึกษาหลักสูตรแฟชั่นดีไซน์ และประชาชนที่สนใจและมีใจรักด้านการออกแบบตัดเย็บทั่วทุกภาคของประเทศ โดยกรมฯ ได้ดำเนินการจัดประกวดการออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อคัดเลือกนักออกแบบตัดเย็บที่สมัครเข้าร่วมโครงการจากจำนวนทั้งสิ้น 367 ราย ให้เหลือจำนวน 40 ราย เพื่อเข้าประกวดในระดับประเทศ ซึ่งทางคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ดำเนินการตัดสินการประกวดเสร็จสิ้นแล้วในช่วงบ่ายของวันนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลงานการออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตลอดจนเป็นกำลังใจแก่ผู้เข้าประกวดทั้ง 40 ราย กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดงานแสดงแบบ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก”ครั้งนี้ขึ้น โดยผลงานการออกแบบตัดเย็บชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก ของผู้เข้าประกวดทั้ง 40 ราย จะถูกถ่ายทอดและนำเสนอให้กับท่านประธานและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้รับชมผ่านการสวมใส่โดยนางแบบมืออาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน และผู้ที่ชนะการประกวดออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ระดับประเทศ ในวันนี้ จะได้รับเงินรางวัล ดังนี้ 1) รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท 2) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท 3) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท และ 4) รางวัลชมเชย 10 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท 





โดยผลการประกวด ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวนูรฮายาตี เซ็ง  HAYA จังหวัดปัตตานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นายมูฮามะอามีน สาแม Ameenstudio จังหวัดปัตตานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ นางสาวนัสริน หะยียามา กลุ่มบาติก เดอ นารา จังหวัดปัตตานี


รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัลได้แก่  นายปฏิมา เหล่าชัย ห้องเสื้อปฏิมา จังหวัดมหาสารคาม นายนิติพงศ์ ไวยวรรณจิต THAI-GETHER จังหวัดสงขลา นางสาวจริยา แซ่เฮ่อ Riya จังหวัดลำปาง นายปรรณกร แก้วรากมุข อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาบ้านและชุมชน จังหวัดเชียงราย นางอังศุมาลิน บุญทา กลุ่มพิทักษ์ชุมชนอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา นางสาวจัฟฟา ลาเต๊ะ นักศึกษาสาขาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา นางสาวอุริสยา กุหละ กลุ่มคนสวยโพธาราม จังหวัดราชบุรี นางสาวชนาธินาถ ไชยภู Auntie Pree Art & Craft Communities จังหวัดภูเก็ต นางสาวสายฝน จำปาทอง อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสถาปัตยกรรม สาขานวัตกรรมการออกแบบ จังหวัดมหาสารคาม และนายเจนณรงค์ แผ่นทอง ครามราม (Kramram) จังหวัดบึงกาฬ



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad