รมว.แรงงาน "พิพัฒน์" มอบเลขาฯ อารี พบปะให้กำลังใจเยาวชน IM Japan อัพสกิลก่อนบินไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น - Go Ahead News

Go Ahead News

ก้าวไปข้างหน้ากับเรา

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, January 15, 2024

รมว.แรงงาน "พิพัฒน์" มอบเลขาฯ อารี พบปะให้กำลังใจเยาวชน IM Japan อัพสกิลก่อนบินไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น

 










วันที่ 15 มกราคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคไทยในญี่ปุ่น (IM Japan) โดยมี นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 14 ปทุมธานี






นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการดังกล่าวว่า การจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลและนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญและต้องการขยายตลาดแรงงานไปในต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่แรงงานไทยมีอาชีพและรายได้มี่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การดำเนินโครงการตามความร่วมมือกับ IM Japan  จึงเป็นอีกโครงการที่ดีมาก นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการว่างงานและนำเงินตราเข้าสู่ประเทศแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับแรงงานไทยและทักษะด้านอื่นๆ ด้วย ซึ่งแรงงานไทยจะได้รับประสบการณ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและพัฒนาประเทศไทยต่อไป สำหรับโครงการ Im Japan ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ได้จัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วจำนวน 5,875 คน สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้กว่า 6,400 ล้านบาท


นายอารี กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการดังกล่าวกระทรวงแรงงานได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติประเทศญี่ปุ่น (International Manpower Development Organization, Japan : IM Japan) เพื่อจัดส่งแรงงานไทยไปฝึกปฏิบัติงานในประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 3 ปี มีค่าตอบแทนตลอดการฝึกงาน โดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมร่วมถึงจัดส่งผู้ฝึกปฏิบัติงาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานรับผิดชอบด้านการฝึกอบรมก่อนการเดินทางไปฝึกปฏิบัติงานในประเทศญี่ปุ่น แบ่งการฝึกอบรมเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก มีระยะเวลาฝึกอบรม 2 เดือนเน้นทักษะด้านภาษา เกี่ยวกับการใช้ชีวิต  ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ช่วงที่ 2 จำนวน 2 เดือน เน้นทักษะด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม  ซึ่งการฝึกในช่วง 2 เดือนหลังผู้เข้าฝึกจะทราบแล้วว่าตนเองได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานในอุตสากรรมใด รวมระยะเวลาการฝึกทั้งสิ้น 4 เดือน หรือ 680 ชั่วโมง โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 14 ปทุมธานี เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมทักษะด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี เรียนรู้เกี่ยวกีบการดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกาย 





ด้าน นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการ จำนวน 11 รุ่น 294 คน ผ่านการฝึกอบรม 202 คน ในจำนวนนี้เดินทางไปฝึกปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว 154 คน ที่เหลืออีก 48 คนอยู่ระหว่างฝึกอบรมในช่วงที่ 2 ก่อนเดินทางไปฝึกปฏิบัติงาน และในปี 2567 เป้าหมายการดำเนินการ จำนวน 300 คน  ผู้ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย จะได้รับเงินเป็นทุนในการประกอบอาชีพในประเทศไทยอีกด้วย  และแรงงานกลุ่มนี้เป็นกำลังแรงงานที่มีศักยภาพ มีทักษะทั้งด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่น มีโอกาสกลับไปทำงานในสถานประกอบกิจการของญี่ปุ่นมากกว่าแรงงานกลุ่มอื่น ดังนั้น จึงเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานที่มีอายุระหว่าง 18 -30 ปี ไปทำงานต่างประเทศมากยิ่งขึ้น



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad