อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบนโยบายขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน พร้อมพบปะให้กำลังใจครอบครัวพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 15 รับฟังความสำเร็จและแนวทางการพัฒนางาน พช. แบบพุ่งเป้า - Go Ahead News

Go Ahead News

ก้าวไปข้างหน้ากับเรา

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, January 21, 2024

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบนโยบายขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน พร้อมพบปะให้กำลังใจครอบครัวพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 15 รับฟังความสำเร็จและแนวทางการพัฒนางาน พช. แบบพุ่งเป้า

 



19 มกราคม 2567  ที่ห้องประชุมเอราวัณภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานการดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจราชการประจำปี 2567 เขตตรวจราชการที่ 15 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง - ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน) กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจรายไตรมาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการจัดเวทีการมีส่วนร่วมในการนำเสนอภาพความสำเร็จงานเด่นของจังหวัดในรูปแบบการนำเสนอความสำเร็จที่โดดเด่นของจังหวัด Live Presentation Sandbox Model และการรับฟังข้อและนำแนวทางการขับเคลื่อนงาน พช. และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนางานระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 282 คนจาก 3 จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 15 ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน (ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน) โดยมีนายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่ 15  พร้อมด้วย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และ ลำปาง รวมทั้งผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาการอำเภอและพัฒนากร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนซึ่งถือว่าเป็นครอบครัว พช. ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนแบบพุ่งเป้าเพื่อนำนำเอาความสำเร็จไปสู่การต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืนทั้งในระดับหมู่บ้านชุมชน และเกิดความสุขกับเจ้าหน้าที่ในการทำงาน 

           



ในการบรรยายพิเศษมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ได้นำเสนอแง่คิดและมุมมองในการขับเคลื่อนภารกิจทั้ง 10 ประการ ของกรมการพัฒนาชุมชนพร้อมกับการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมไปในขณะเดียวกัน ซึ่งถือเป็นมุมมองในการสร้างประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่พี่น้องประชาชนที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โครงการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นการต่อยอดกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลสำเร็จของโครงการทั้งการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ และการสร้างความมั่นคงทางอาหารฯ เช่น การลดรายจ่ายต่อครัวเรือนเพียงวันละ 20 บาท ใน 1 ปีในกลุ่มประชาชน 12 ล้านครัวเรือน จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เกือบหนึ่งแสนล้านบาท เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังแสดงให้เห็นถึงภาพการขับเคลื่อนทั้งเม็ดเงินทางเศรษฐกิจที่สำคัญจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าจากภูมิปัญญาในโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมติ ครม. เพื่อรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทย การขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยภาคีการมีส่วนร่วมในระดับจังหวัดฯ อำเภอ และชุมชนท้องถิ่น การขับเคลื่อน OTOP และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี การขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การส่งเสริมการใช้งานแอพพลิเคชั่นคลิ๊กชุมชน การบริหารการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ. การขับเคลื่อนกองทุนชุมชน และการขับเคลื่อนบริษัทประชารัฐรักสามัคคี รวมทั้งการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมเพื่อให้มีการพัฒนาสมรรถนขององค์กรควบคู่กับการสร้างคุณธรรมทั้งในระดับบุคคล องค์กร และระดับที่กว้างขึ้น

          




นอกจากการบรรยายพิเศษที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและประโยชน์ที่เกิดจากการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนในรูปแบบเม็ดเงินที่จะขยายเศรษฐกิจฐานรากแล้ว ยังได้มีการแลกเปลี่ยนและเล่าถึงการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนด้วยหัวใจและความมุ่งมั่นต่อหน้าที่ความรับผิดชอบมุมมองการใช้ชีวิต และการปฏิบัติตัวที่สำคัญให้แนวคิดที่สำคัญกับพัฒนากรพัฒนาการอำเภอรวมทั้งผู้ที่อยู่ในเวทีแลกเปลี่ยน ตลอดจนมีการรับฟังข้อความคิดเห็นแนวทางที่สำคัญจากระดับพื้นที่ในการปรับปรุงพัฒนางานและภาพความสำเร็จความมุ่งมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ เช่น มีการนำเสนอโครงการ อสพ. คืนถิ่น เพื่อให้พัฒนาบ้านเกิดด้วยหัวใจควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจหน้าที่ซึ่งจะสร้างความสุขให้ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนสูงสุด ซึ่งเป็นการนำเสนอจากนักวิชาการพัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และมุมมองอื่น ๆ ที่สำคัญทางการขับเคลื่อนงานและอุปสรรคที่พบในพื้นที่ทั้งในพื้นที่จังหวัดลำพูนลำปางและเชียงใหม่ผ่านตัวแทนพัฒนาก่อนซึ่งมีการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง 

           

ซึ่งก่อนการบรรยายพิเศษดังกล่าวมีการนำเสนอภาพโมเดลแห่งความสำเร็จที่เป็นการขับเคลื่อนงานที่โดดเด่นของทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอโมเดลแห่งความสำเร็จ sandbox model ในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคกหนองนา” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรสู่การต่อยอดให้เกิดการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในพื้นที่จนเกิดเป็นภาพความเข้มแข็ง, การนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ปัญหาหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่เกินกำหนดชำระของจังหวัดลำปาง และการขับเคลื่อนมหานครแห่งผ้าของจังหวัดลำพูน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่โดดเด่นในการใช้สีธรรมชาติและได้รับรางวัลระดับประเทศ 

          


นอกจากนั้น ในโครงการดังกล่าวในการนำเสนอการขับเคลื่อนงานที่สำคัญยังมีผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชนได้บรรยายแนวทางการขับเคลื่อนงานที่สำคัญ โดยในช่วงเช้า เวลา 10:00 น นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้บรรยายถึงกรอบการขับเคลื่อนการตรวจราชการแบบพุ่งเป้าเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานสู่เป้าหมายในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้รูปแบบการติดตาม หนุนเสริม และประเมินผล ผ่านการตรวจราชการ ด้วยการให้คำแนะนำพร้อมกับการหนุนเสริมไปพร้อม ๆ กันในการตรวจราชการ ทั้งในระดับพื้นที่และการตรวจ ราชการแบบบูรณาการ พร้อมทั้งยังมีการบรรยายถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนจาก นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องตลอดจนรายละเอียดในการดำเนินงานโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครบรอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567  จากนั้นเวลา 11:20 น นายเกียรติปราโมทย์ ฉายศรี ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ บรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจถึงการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ภายใต้การพัฒนาองค์กรและระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเส้นทางความก้าวหน้าและข้อระเบียบเกี่ยวกับงานพัฒนาบุคคลในการขับเคลื่อนกรมการพัฒนาชุมชนสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง

 



จากนั้นเวลา 17:00 น มีพิธีมอบเงินสร้างบ้านตามโครงการบ้านห่วงใยจากใจ GLO ประจำปี 2566 เขตตรวจราชการที่ 15 ภาคเหลือตอนบน 1 ในทั้ง 3 จังหวัด  ซึ่งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดสร้างบ้านให้กับประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยไม่มั่นคงถาวร และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระบบ TPMAP หลังคาเรือนละ 200,000 บาท เฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูนรวม 3 หลัง  และพิธีรับมอบเงินทุนอุปการะเด็กจากกองทุนพัฒนาเด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 ทั้ง 3 จังหวัดรวมทั้งสิ้น  57 ทุนทุนละ 1,500 บาท ผ่านพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล  พร้อมนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนยังได้เล่าถึงความเป็นมาของเงินสร้างบ้านตามโครงการบ้านห่วงใยจากใจ GLO และขอบคุณสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาในระดับพื้นที่ดังกล่าว




No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad