ปรบมือสนั่น! “จุรินทร์” โชว์วิชั่น จุดยืนไทยหลังเอเปค จับมือสภาหอการค้าฝ่า 4 วิกฤตโลก - Go Ahead News

Go Ahead News

ก้าวไปข้างหน้ากับเรา

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, November 26, 2022

ปรบมือสนั่น! “จุรินทร์” โชว์วิชั่น จุดยืนไทยหลังเอเปค จับมือสภาหอการค้าฝ่า 4 วิกฤตโลก

 













วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 เวลา 8.30 น.

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ Enhancing Trade Facilitation for Thailand Competitiveness : เปิดการค้าไทย มิติใหม่สู่สากล ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ค่ำวานนี้(26 พ.ย.65) ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งภายในงานมีประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมด้วย


โดยนายจุรินทร์ได้กล่าวว่า  ต้องยอมรับความจริงว่าโลกและประเทศไทยยังเผชิญปัญหาและสิ่งท้าทาย อย่างน้อย 4 เรื่อง 1. ปัญหาโควิด 2.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ 3.ปัญหาการกีดกันทางการค้า 4. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก


เรื่องแรกปัญหาโควิด จากการติดตามสถานการณ์ โควิดยังต้องอยู่กับเราต่อไป ไม่มีใครสรุปได้ว่าจบเมื่อไหร่ เรื่องที่สองความร้อนแรงของภูมิรัฐศาสตร์ เชื่อว่าจากนี้จะร้อนแรงขึ้น คือการเอาการเมืองกับเศรษฐกิจมารวมกัน แบ่งขั้วแบ่งค่าย บังคับให้ประเทศต่างๆต้องเลือกข้าง ทำให้เกิดมวยยักษ์สองคู่ คือ 1) รัสเซีย-ยุโรป เป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดวิกฤติอาหาร-พลังงาน 2) สหรัฐฯ-จีน ในทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทาน วัตถุดิบในการผลิตสินค้าหลายตัวทั้งโลกทั้งห่วงโซ่อาหาร  เซมิคอนดักเตอร์ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เกิดการตั้งวงหาพวก จีนมีวง RCEP ที่เป็นวงใหญ่ สหรัฐฯเคยใช้วง CPTPP ต่อมาถอนตัวและมาตั้งวงใหม่ คือ อินโด-แปซิฟิก ตอนคิดว่าวง CPTPP มีแนวโน้มที่สหรัฐฯจะทิ้งวงนี้ และวงใหม่จะทวีความสำคัญขึ้น เป็นโจทก์ว่าต้องทำอย่างไร แต่ประเทศไทยยังอยู่ทั้ง 2 วง ทั้ง RCEP ที่ตนเคยเป็นประธานในที่ประชุมจนประสบความสำเร็จ และวงของสหรัฐฯ อินโด-แปซิฟิก ล่าสุดเราประกาศเข้าร่วม 

และตอนช่วงประชุมเอเปคได้มีโอกาสพบกับ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ(USTR) ได้เจรจาทวิภาคีเห็นความพยายามในการเร่งเครื่องอินโด-แปซิฟิก และพยายามหาพันธมิตรเพิ่มเติม กำหนดกฎกติกาเพิ่มเติม เพื่อให้เอกชนพอทราบว่าเป็นอย่างไร จะจับมือกับรัฐบาลเดินหน้าเข้าวงไหน เพราะบางกลุ่มยังอยากเดินหน้า CPTPP อยู่ อย่างน้อยในการประชุมเอเปค สะท้อนให้เห็นว่าเรามีพันธมิตรใหม่เพิ่มเติมที่น่าจะเป็นที่พึ่งได้ในอนาคตคือซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดใหญ่ทั้งการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศไทยและซาอุฯ และการหารือเต็มคณะตนมีส่วนเข้าร่วมประชุมมีหลายมุมที่เห็นความกระตือรือร้นร่วมมือกันทั้ง 3 ด้าน ซาอุฯจะเป็นที่พึ่งสำคัญของเราอีกที่พึ่งหนึ่ง และไทยก็เป็นที่พึ่งสำคัญของซาอุฯอีกประเทศหนึ่งด้วย


ประเทศไทยคงต้องแสดงจุดยืนให้มีความชัดเจนว่าจะใช้ภูมิรัฐศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเราอย่างไร อย่างน้อยเราอยู่ในวงอาเซียนต้องจับมือกับอาเซียนให้แน่นหนาเข้มแข็ง และเรามีโอกาสอยู่ทั้ง 2 วง เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดกับประเทศของเราในทางเศรษฐกิจ


เรื่องที่สาม เรื่องการกีดกันทางการค้าจะมีรูปแบบใหม่เข้ามามากขึ้นในรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีและไม่ใช่ประเด็นเดิม ตนนี้คิดว่าทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมรับมือ ในการประชุมเอเปคเรามีสัญญาณที่ดีหลายเรื่องในหลายประเด็นเช่น เห็นพ้องว่าควรใช้เวทีพหุภาคีเป็นเวทีขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อไม่ให้ประเทศเล็กเสียเปรียบประเทศใหญ่และเอเปคยอมรับการขับเคลื่อน BCG Model หน้ายอมรับธีม Open. Connect. Balance.ของประเทศไทย และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี ที่ประชุมเอเปคพูดถึงเรื่องนี้เยอะ และให้ความสำคัญกับสตรีรวมทั้งกลุ่มเปราะบางเข้ามามีโอกาสและบทบาททางเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวของกลุ่มสมาชิกเอเปคมากขึ้น 


ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือการที่ที่ประชุมขับเคลื่อนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เพราะเป็นเหรียญสองด้าน มีหลายเรื่องที่เป็นประเด็นผูกกับการค้าเศรษฐกิจและการลงทุน และขับเคลื่อนใน WTO ที่จะเป็นกติกาโลกต่อไปในอนาคต ซึ่งด้านบวกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของโลกในอนาคต แต่อีกด้านอาจเป็นการนำเรื่องนี้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวในอนาคตได้ เราต้องเตรียมรับมือ เช่น การใช้มาตรการทางคาร์บอน เป็นต้น


ประเด็นสุดท้าย ที่ตนเป็นห่วงคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกปี 64 เศรษฐกิจโลก +6% แต่ปีนี้แนวโน้มจะเหลือแค่ 3.2% และปีหน้าจะเหลือแค่ 2.7% โดยประมาณ สะท้อนให้เห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลดลง อาจกระทบตัวเลขทั้งการลงทุน การค้า การส่งออกและการท่องเที่ยว ต้องเร่งจากมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนแก้ไขปัญหานี้ต่อไปในอนาคต


“ตนมีหลัก 2 ข้อคือ 1.อะไรที่เกินกำลังเราต้องเว้นไว้ก่อน เช่น สั่งให้ 2 ประเทศหยุดทำสงครามไม่ได้ ต้องเผชิญหน้ากับมันแต่อะไรที่เป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้ ต้องเร่งทำโดยเฉพาะตัวเลขการส่งออก ตนมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ทุกหน่วยงาน เร่งหารือกับภาคเอกชนเพราะตนมั่นใจว่าการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่ายอย่างใกล้ชิดคือพลังสำคัญ ช่วยให้เราฝ่าปัญหาและความท้าทายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นนี้ไปได้ ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการค้า รวมทั้งภาคเอกชนที่จะช่วยกันหาคำตอบท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำตัวเลขการส่งออกให้เติบโตต่อไปได้ได้อย่างไร มีอะไรบ้างที่ทำได้ในเวลาที่รวดเร็วมาช่วยกันทำ 


ตลาดไหนมีศักยภาพที่เราสามารถบุกได้ ตนพร้อมร่วมมือกับพวกเราทุกคนเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน มีโอกาสร่วมเปิดตลาดทำตัวเลขการส่งออกให้ประสบความสำเร็จต่อไปเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างเงินให้กับประเทศของเราให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad